sakkapoom.blogspot.com

.......................................................
ผ่านทาง... สร้างประสบการณ์ ให้ชีวิต
ผ่านชีวิต... สร้างจิตสำนึก ต่อสังคม
ผ่านสังคม... มอบสิ่งดีงาม เอาไว้ให้
ผ่านไป... ชีวิตวางทางไว้เบื้องหลัง จะมีสักกี่ครั้งที่จะได้หันกลับไปมอง.


12 พฤศจิกายน, 2557

รัก-อดทน


ในความรัก...
มีความอดทน 

แต่...ในความอดทน
อาจไม่มีความรัก.



เอ๋ ฐิตา

ฤดูร้อน 2557





นินทา-สรรเสริญ

บทเพลงแห่งพระอรหันต์

...ตนเองไม่มั่นคง 
คนอื่นเขาสรรเสริญ
คำสรรเสริญนั้น... 
เปล่าประโยชน์. ”


“...หากตนมั่นคงดีแล้ว 
คนอื่นเขานินทา
คำนินทานั้น... 
เปล่าประโยชน์ 


พระสิริมา เถระ




ปเร  จ  นํ  ปสํสนฺติ
อตฺตา  เจ  อสมาหิโต
โมฆํ  ปเร  ปสํสนฺติ
อตฺตา  หิ  อสมาหิโต
                 ๒๖/๒๗๗/๒๙๓

ปเร  จ  นํ  ครหนฺติ
อตฺตา  เจ  สุสมาหิโต
โมฆํ  ปเร  ครหนฺติ
อตฺตา  หิ  สุสมาหิโต
                ๒๖/๒๗๗/๒๙๓





*บทนี้...พระสิริมาเถระเป็นผู้กล่าว  ท่านเป็นบุตรคหบดีในเมืองสาวัตถี  ออกบวชพร้อมกับน้องชาย  ในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จมารับมอบถวายพระวิหารเชตวัน 

...หลังจากบวชแล้วพระน้องชาวเป็นผู้มีลาภสักการะมาก  เป็นที่เคารพนับถือทั้งของคฤหัสถ์และบรรพชิต  ส่วนพระสิริมาเถระผู้พี่ชายเป็นผู้มีลาภสักการะน้อย  แต่ก็ได้รับความเคารพนับถือจากมหาชนเช่นเดียวกัน 

...จากนั้นไม่นานท่านก็ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุพระอรหันต์  ในขณะที่พระน้องชายมัวชื่นชมในลาภสักการะอยู่ไม่สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ 

...ภิกษุสามเณรไม่รู้ว่าท่านเป็นพระอริยเจ้าทรงอภิญญา  พากันตำหนิหาว่าท่านมีลาภสักการะน้อยสู้พระน้องชาย (ซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่) ไม่ได้  พระเถระปรารถเรื่องนี้  ได้กล่าวพระคาถาประพันธ์ดั่งข้อความข้างต้น.






02 พฤศจิกายน, 2557

น่าจะคิด อนิจัง

บทเพลงแห่งพระอรหันต์


ทุปฺปพฺพชฺชํ เว ทุรธิวาสา เคหา
ธมฺโม คมภีโร ทุรธิคมา โภคา
กิจฺฉา วุตฺติ โน อิตรีตเรเนว
ยุตฺตํ จินฺเตตุ สตตมนิจฺจตํ
             ๒๖/๒๔๘/๒๘๕



“ ครองเพศบรรพชิต นั้นแสนยาก
ฆราวาสวิสัย ก็ลำบากเช่นกัน
พระธรรมอันคัมภีรภาพ ยากเข้าใจ
โภคทรัพย์กว่าจะหามาได้ ก็เหน็ดเหนื่อย
มีชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างสันโดษ ก็ยากเย็น
ฉะนี้ น่าจะเห็น น่าจะคิด ...อนิจจัง ”


พระเชนตเถระ
(หนังสือบทเพลงแห่งพระอรหันต์ โดย อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก)



...บทนี้เป็นคำกล่าวของพระเชนตเถระ ท่านเป็นโอรสของเจ้ามัณฑลิกราช ในเชนตคามแคว้นมคธ ด้วยความเป็นคนช่างคิด จึงเข้าใจชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่ม วันหนึ่งท่านนั่งคิดว่า...

“ ชีวิตนี้มิได้สุขสบายอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ ครองเพศฆราวาสที่ดีก็ยาก บวชบำเพ็ญสมณธรรมก็ใช่ว่าจะง่าย โภคทรัพย์ก็หาได้ด้วยความยากลำบาก เราจะเลือกวิถีชีวิตอย่างไหนดี ”


พอดีได้ฟังธรรมจากสำนักพระบรมศาสดาจึงพอใจในการบรรพชา ทูลขอบวชและรับกรรมฐานจากพระพุทธองค์ไปปฏิบัติ ชั่วเวลาไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหันต์ กวีวจนะบทนี้เตือนให้พิจารณาเห็นความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่งได้ดีทีเดียว.