sakkapoom.blogspot.com

.......................................................
ผ่านทาง... สร้างประสบการณ์ ให้ชีวิต
ผ่านชีวิต... สร้างจิตสำนึก ต่อสังคม
ผ่านสังคม... มอบสิ่งดีงาม เอาไว้ให้
ผ่านไป... ชีวิตวางทางไว้เบื้องหลัง จะมีสักกี่ครั้งที่จะได้หันกลับไปมอง.


18 ตุลาคม, 2557

ทำบุญด้วยแรง (ภาคกลางวัน)

ขั้นตอนการหล่อพระ 1.

1.วัดที่ต้องการจะสร้างพระ จะต้องมีทุนรอนก่อน งบอยู่ที่ประมาณ 2-2.5แสน
(วัสดุดิน ทราย ปูน เหล็ก ตามราคาตลาดครับ)

2.ทำฐานรับองค์พระ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทางวัด บางวัดสร้างติดพื้น (ที่บนเขา)
บางวัดหมดค่าฐานเป็นล้าน (ถมดินยกชั้น)













3.วัดใดที่ทำฐานเสร็จแล้วก็กำหนดวันนำแม่พิมพ์มาประกอบ วัดกำหนดวันหล่อพระ และบอกบุญญาติธรรม จัดตั้งโรงทาน













4.สารพันวันงาน ในวันงาน ทางวัดก็จะมีแผ่นทองให้ญาติโยมเขียนดวง เขียนชื่อ อธิฐานจิตเพื่อบรรจุในฐานพระ หรือท่านใดจะนำพระ ถวายพระเนตร ถวายพลอยประดับอุณาโลม ตามแต่จิตศรัทธาครับ















5.เมื่อถึงเวลาหล่อพระ แรงงานชาวบ้านจากที่ต่าง ๆ ก็จะมารวมกันช่วยกันคนะไม้คนละมือ
ผู้ชาย ก็ขึ้นไปอยู่ตามนั่งร้าน ผู้หญิง ก็จะช่วยส่งถึงปูน และรับถังปูนเปล่ากลับ แผนก ตักหิน ตักทราย แบกปูน ก็ทำกันไปครับ ใครถนัดงานไหนก็รี่เข้าไปทำเลย ไม่มีใครว่า เหนื่อยก็พัก คนที่ว่างก็ผลัดเปลี่ยนกันมาทำแทน ไม่มีเกี่ยงไม่มีงอนกัน มาเอาบุญหน้าชื่นกันทุกคนครับ (ในภาพ อ.โหน่ง กะแว่นดำสัญลักษณ์ภาคสนาม)




6.พวกผมจะไปกัน 3-6 คน แล้วแต่รวบรวมอาสาสมัครได้มากน้อย แล้วแต่ว่าว่างมากว่างน้อย ถ้ามีเวลาก็อยู่แกะแบบ จนเสร็จ ไม่กลับก็นอนที่วัดเลย ถ้ารีบ ๆ เทแบบเสร็จก็กลับกันครับ กว่าปูนจะจับตัวได้ที่ ก็ราว ๆ 3 ชั่วโมงขึ้นไป เทแบบเสร็จก็สัก 6 โมงเย็น ชาวบ้านก็ทะยอยกันกลับ ก็จะเหลือไม่กี่คนที่รอแกะแบบครับ
(ปกติผมจะอยู่ยอดบนสุด แต่งานนี้ของานเบา ๆ ก่อน รอให้หายเดี๋ยวไปลุยใหม่)













7.ถายในองค์พระจะนำโอ่งใส่ พระที่ทางวัดเตรียมบรรจุ แผ่นดวง รายชื่อของญาติธรรม และองค์พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ที่มีผู้ถวาย
ที่มีโอ่งเพื่อให้องค์พระเบา แถมยังประหยัดปูนไปด้วย จะใส่โอ่งซ้อนกันขึ้นมา 3 ใบ ครับ






8.พิธีกรรมสำคัญคือ การบรรจุพระสารีริกธาตุ ที่ยอดบนสุด จากนั้นก็ปิดด้วยปูน ทำความสะอาดแบบแล้วก็รอปูนแห้งสัก 3 ชั่วโมง งานแกะแบบภาคกลางคืนจึงจะเริ่มต้น














โปรดติดตามชม - ภาคกลางคืน