sakkapoom.blogspot.com

.......................................................
ผ่านทาง... สร้างประสบการณ์ ให้ชีวิต
ผ่านชีวิต... สร้างจิตสำนึก ต่อสังคม
ผ่านสังคม... มอบสิ่งดีงาม เอาไว้ให้
ผ่านไป... ชีวิตวางทางไว้เบื้องหลัง จะมีสักกี่ครั้งที่จะได้หันกลับไปมอง.


08 ธันวาคม, 2557

ไม้กฤษณา


เพิ่มคำอธิบายภาพ

"...ก็เมื่อมี "ธรรม" เป็นหลักชัยดีแล้ว
มีไม้กฤษณาแบกไว้บนบ่าแล้ว
จะเสียเวลาก้มลงเก็บแค่ ดอกไม้ป่าริมทาง

เพียงเพื่อดอมดม ไปทำไม?
อีกไม่นาน ดอกไม้ นั้น ...ก็เหี่ยวเฉาตาย
หาได้สูงค่าเท่า ไม้กฤษณา ไม่

มุ่งไปเบื้องหน้าเถิด... 
เร่งทำนิพพานให้แจ้งเถิด...
เวลามีไม่มากแล้ว."



แหลม ศักย์ภูมิ
๖ มิ.ย. ๒๕๕๗















บดเอื้อง


" ถ้าหากว่า...
คอยไปบดเอื้องอยู่แต่ อดีต,อนาคต เท่านั้น
ก็ลืมโอปนยิโก มาในปัจจุบัน...
จิตใจก็ห่างเหินจาก สมาธิ และ ปัญญา "


หลวงปู่หล้า เขมปัตโต 







06 ธันวาคม, 2557

ธ ภูมิพลฯ





"...ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม ดั่งคำตรัส
ทรงวางทัศนวิสัย ถิ่นไทยกสานต์
ทรงนำชนรู้ พอเพียง ยั้งยืนนาน
ประชาประสาน กรานกราบแก้ว เลิศแพร้ว... ธ ภูมิพลฯ "



ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกรานฯ

แหลมทอง รักในหลวง
กลุ่ม ไทอชิร : อาวุธไทย-มวยไชยา
๕ พ.ค.๒๕๕๖



เงาตัณหา






เพียงกอดจูบรูปร่าง กร่างกิเลส

กลืนเสลดมูถเน่า ...เงาตัณหา
เหตุแห่งทุกข์ คือหิวสุข อยู่ทุกครา
กามกามาปรุงเป็น "รัก" ปักดวงใจ...

เพราะหลงเชื่อว่า... เนื้อหนัง ยังมีอยู่
โอ้มึงกู เธอฉัน นั้นอยู่ไหน...
อยู่ที่ฤทธิ์อวิชชา มายาใจ
กามราคะจึงยิ่งใหญ่ ...เกินใครทาน.





ถิรธมฺโม นาม
*สาธุธรรม สาธุ สาธุ สาธุ


01 ธันวาคม, 2557

วิถีทางแห่งสรวงสวรรค์.



โก่งคันศรจนสุดล้า
ย่อมมีเวลาที่มันจะคืนกลับ
ลับดาบจนแหลมคม
ย่อมมีเวลาที่มันจะทื่อ

เมื่อท่านมีทองและหยกอยู่เต็มห้อง
ย่อมมิอาจรักษาไว้ได้โดยปลอดภัย
ภาคภูมิใจกับเกียรติยศและความมั่งคั่ง
ย่อมโศกเศร้าเมื่อความตกต่ำมาถึง

ถอนตัวออกเมื่อกิจการงานได้เสร็จสิ้นลง
นี่คือวิถีทางแห่งสรวงสวรรค์.



"วิถีแห่งเต๋า" คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง 
โดย ท่านเหลาจื่อ 

พจนา จันทรสันติ / แปล




ทนุถนอมรักเอาไว้...

ดีมาก ขอบคุณบทความดีดีจาก...ไลน์




"แม่ของผมเป็นคนทำอาหารที่บ้านประจำทุกวัน...
คืนหนึ่งหลังจากที่แม่ทำงานหนักมาตลอดทั้งวัน พอแม่กลับบ้านมาด้วยความเหนื่อยล้า และทำอาหารเย็นให้เราปกติ ที่โต๊ะอาหารแม่วางจานที่มีปลาทูที่ไหม้เกรียม บนโต๊ะต่อหน้าพ่อและทุกๆคน....

ผมรอว่าแต่ละคนจะว่าอย่างไร.....

แต่...พ่อไม่พูดอะไร และตั้งหน้าตั้งตา กินปลาทูไหม้ตัวนั้น และหันมาถามผมว่าที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

คืนนั้นหลังอาหารเย็น ผมจำได้ว่า ได้ยินแม่ขอโทษพ่อที่ทอดปลาทู
ไหม้...และผมไม่เคยลืมที่พ่อ
พูดกับแม่เลย "โอย...ผมชอบปลาทูทอดเกรียมๆ ...อร่อยมากนะแม่"

คืนต่อมา ผมเก็บคำถามในใจ ก่อนนอน และถามพ่อว่า "พ่อชอบปลาทูทอดเกรียมๆ จริงๆ เหรอ"


พ่อลูบหัวผม และ ตอบว่า....

"แม่ของลูกทำงานหนักมาทั้งวัน...
ปลาทูไหม้ 1 ตัว ไม่เคยทำร้ายใคร แต่คำพูดที่ต่อว่ากันต่างหากที่จะทำร้ายกัน"


"ชีวิตคนเรา
เต็มไปด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ และแต่ละคน
ก็ไม่ได้เกิดมาสมบูรณ์แบบ ตัวเราเอง
ก็ไม่ได้มีอะไรดีกว่าใครๆ"

"พ่อเองก็เป็นคนหนึ่ง
ที่เคยลืมวันเกิดแม่ วันครบรอบวันแต่งงาน และแม้แต่พ่อเอง ยังเคยลืม
ทำบุญวันเกิดของพ่อและแม่
ของพ่อเองตอนที่ท่าน
ยังมีชีวิตอยู่เลย”

แต่สิ่งที่พ่อเรียนรู้ ในช่วงชีวิตคือ.....


การเรียนรู้ที่จะยอมรับ
ความผิดของคนอื่น และของตัวเอง

การเลือกที่จะยินดีกับ
ความคิดต่างกันของ
แต่ละบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ ในการรักษาชีวิตครอบครัว
ที่มีความสุขและยืนยาว

“ชีวิตเราสั้นเกินกว่า ที่จะตื่นขึ้นมาพร้อมกับ
ความเสียใจที่ว่า เราทำผิดกับคนที่เรารัก
และรักเรา ให้ดูแลและ
ทะนุถนอมคนที่รักเรา และพยายามเข้าใจและให้อภัย
จะดีกว่า"


















**ถ้าเรารู้ เราจะทำไหม?**

• เราจะบีบแตรใส่คนที่ยืนยึกยัก
ริมถนนแยกที่ผ่านมาไม๊ – ถ้าเรารู้ว่าเค้าใส่ขาเทียม

• เราจะเบียดชนคนข้างหน้า
ที่เดินช้ามากไม๊ – ถ้าเรารู้ว่าเค้าเพิ่งตกงาน

• เราจะขำคนที่แต่งตัวเชยไม๊ – ถ้าเรารู้ว่าเค้ามีชุดเก่งแค่ชุดเดียว

• เราจะรำคาญสาวโรงงาน
ที่มาเดินพารากอนไม๊ – ถ้าเรารู้ว่านั่นคือ
การฉลองวันเกิดของเธอ

• เราจะหมั่นไส้ลุงที่หัวเราะ
เสียงดังลั่นคนนั้นไม๊ – ถ้ารู้ว่าแกเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย

• เรารู้แจ่มชัดเสมอ…
ว่าชีวิตเรากำลังเจออะไร
แต่เราไม่มีวันรู้ว่า
"คนที่เราเจอ – กำลังเจอกับอะไร"





**โลกกว้างกว่าเงาของเรา และโลกก็ไม่ได้หมุนรอบตัวเรา


**มองข้ามเรื่องเล็กๆน้อยๆไปบ้าง ให้โอกาสและให้อภัย มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน จะได้รักและอยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืน ยาวนาน

12 พฤศจิกายน, 2557

รัก-อดทน


ในความรัก...
มีความอดทน 

แต่...ในความอดทน
อาจไม่มีความรัก.



เอ๋ ฐิตา

ฤดูร้อน 2557





นินทา-สรรเสริญ

บทเพลงแห่งพระอรหันต์

...ตนเองไม่มั่นคง 
คนอื่นเขาสรรเสริญ
คำสรรเสริญนั้น... 
เปล่าประโยชน์. ”


“...หากตนมั่นคงดีแล้ว 
คนอื่นเขานินทา
คำนินทานั้น... 
เปล่าประโยชน์ 


พระสิริมา เถระ




ปเร  จ  นํ  ปสํสนฺติ
อตฺตา  เจ  อสมาหิโต
โมฆํ  ปเร  ปสํสนฺติ
อตฺตา  หิ  อสมาหิโต
                 ๒๖/๒๗๗/๒๙๓

ปเร  จ  นํ  ครหนฺติ
อตฺตา  เจ  สุสมาหิโต
โมฆํ  ปเร  ครหนฺติ
อตฺตา  หิ  สุสมาหิโต
                ๒๖/๒๗๗/๒๙๓





*บทนี้...พระสิริมาเถระเป็นผู้กล่าว  ท่านเป็นบุตรคหบดีในเมืองสาวัตถี  ออกบวชพร้อมกับน้องชาย  ในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จมารับมอบถวายพระวิหารเชตวัน 

...หลังจากบวชแล้วพระน้องชาวเป็นผู้มีลาภสักการะมาก  เป็นที่เคารพนับถือทั้งของคฤหัสถ์และบรรพชิต  ส่วนพระสิริมาเถระผู้พี่ชายเป็นผู้มีลาภสักการะน้อย  แต่ก็ได้รับความเคารพนับถือจากมหาชนเช่นเดียวกัน 

...จากนั้นไม่นานท่านก็ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุพระอรหันต์  ในขณะที่พระน้องชายมัวชื่นชมในลาภสักการะอยู่ไม่สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ 

...ภิกษุสามเณรไม่รู้ว่าท่านเป็นพระอริยเจ้าทรงอภิญญา  พากันตำหนิหาว่าท่านมีลาภสักการะน้อยสู้พระน้องชาย (ซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่) ไม่ได้  พระเถระปรารถเรื่องนี้  ได้กล่าวพระคาถาประพันธ์ดั่งข้อความข้างต้น.






02 พฤศจิกายน, 2557

น่าจะคิด อนิจัง

บทเพลงแห่งพระอรหันต์


ทุปฺปพฺพชฺชํ เว ทุรธิวาสา เคหา
ธมฺโม คมภีโร ทุรธิคมา โภคา
กิจฺฉา วุตฺติ โน อิตรีตเรเนว
ยุตฺตํ จินฺเตตุ สตตมนิจฺจตํ
             ๒๖/๒๔๘/๒๘๕



“ ครองเพศบรรพชิต นั้นแสนยาก
ฆราวาสวิสัย ก็ลำบากเช่นกัน
พระธรรมอันคัมภีรภาพ ยากเข้าใจ
โภคทรัพย์กว่าจะหามาได้ ก็เหน็ดเหนื่อย
มีชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างสันโดษ ก็ยากเย็น
ฉะนี้ น่าจะเห็น น่าจะคิด ...อนิจจัง ”


พระเชนตเถระ
(หนังสือบทเพลงแห่งพระอรหันต์ โดย อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก)



...บทนี้เป็นคำกล่าวของพระเชนตเถระ ท่านเป็นโอรสของเจ้ามัณฑลิกราช ในเชนตคามแคว้นมคธ ด้วยความเป็นคนช่างคิด จึงเข้าใจชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่ม วันหนึ่งท่านนั่งคิดว่า...

“ ชีวิตนี้มิได้สุขสบายอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ ครองเพศฆราวาสที่ดีก็ยาก บวชบำเพ็ญสมณธรรมก็ใช่ว่าจะง่าย โภคทรัพย์ก็หาได้ด้วยความยากลำบาก เราจะเลือกวิถีชีวิตอย่างไหนดี ”


พอดีได้ฟังธรรมจากสำนักพระบรมศาสดาจึงพอใจในการบรรพชา ทูลขอบวชและรับกรรมฐานจากพระพุทธองค์ไปปฏิบัติ ชั่วเวลาไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหันต์ กวีวจนะบทนี้เตือนให้พิจารณาเห็นความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่งได้ดีทีเดียว.






29 ตุลาคม, 2557

ผู้เฝ้ามอง?



" คนเราตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์
เพราะไม่สามารถเปลี่ยนบทบาทตนเองจาก ผู้ทุกข์ 
ไปสู่การเป็น ผู้เฝ้าดูความทุกข์ ได้

...วิปัสสนาในตอนนี้ จึงมีความสำคัญมาก 
ในความหมายที่ว่า... 
เราคือผู้เฝ้าดูความทุกข์ที่เกิดขึ้น. "


พระชาย วรธัมโม
30/10/2557












ขอนำคำอธิบาย วิปสสนา จาก... 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ 

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, 
...ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
(ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์



ไหนเลยจะพ้นทุกข์เล่า

บทเพลงอรหันต์




หลับตลอด ราตรี...
คลุกคลีกับหมู่คน ทั้งวัน...
 คนโง่เขลา  เช่นนั้น
ไหนเลยจะ พ้นทุกข์เล่า...
                                                    
  พระพุทธเจ้าทรงกล่าวแก่ พระนีต เถระ



สพฺพรตฺตึ  สุปิตฺวาน
ทิวา  สงฺคณิเก  รโต
กทาสฺสุ  นาม  ทุมฺเมโธ
ทุกฺขสฺสนุตํ  กริสฺสติ
                   ๒๖/๒๒๑/๒๗๙





*พระนีตเถระ ท่านเป็นบุตรพราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีคนหนี่ง  ออกบวชครั้งแรกไม่ได้บวชด้วยศรัทธา  บวชเพราะเข้าใจว่าพระสมณศากยบุตรมีชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบาย  หวังจะมีชีวิตสบายอย่างนั้นบ้างจึงไปบวช 
...เมื่อบวชแล้วเรียนกรรมฐานจากสำนักพระบรมศาสดา  ปฏิบัติเพียง ๒ – ๓ วันก็ละทิ้งไม่เอาใจใส่อย่างจริงจัง  ฉันอาหารจนอิ่มหมีพีมัน  คลุกคลีกับหมู่คณะ  ให้วันเวลาผ่านไปด้วยการพูดคุยแต่เรื่องไร้สาระ 
...พระพุทธองค์มิได้ว่ากล่าวตักเตือน  ทรงรอเวลาให้ “ อินทรีย์ ”  ท่านแก่กล้าเสียก่อน (รอความพร้อม)  เมื่ออินทรีย์ท่านแก่กล้าพร้อมที่จะได้รับการแนะนำแล้ว  พระพุทธองค์จึงทรงตำหนิท่านด้วยคำพูดที่รุนแรงดังข้างต้น  พระนีตเถระท่านรู้สำนึกตน  ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญเพียร  ไม่นานก็บรรลุพระอรหันต์



.......................................................


18 ตุลาคม, 2557

ทำบุญด้วยแรง (ภาคกลางวัน)

ขั้นตอนการหล่อพระ 1.

1.วัดที่ต้องการจะสร้างพระ จะต้องมีทุนรอนก่อน งบอยู่ที่ประมาณ 2-2.5แสน
(วัสดุดิน ทราย ปูน เหล็ก ตามราคาตลาดครับ)

2.ทำฐานรับองค์พระ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทางวัด บางวัดสร้างติดพื้น (ที่บนเขา)
บางวัดหมดค่าฐานเป็นล้าน (ถมดินยกชั้น)













3.วัดใดที่ทำฐานเสร็จแล้วก็กำหนดวันนำแม่พิมพ์มาประกอบ วัดกำหนดวันหล่อพระ และบอกบุญญาติธรรม จัดตั้งโรงทาน













4.สารพันวันงาน ในวันงาน ทางวัดก็จะมีแผ่นทองให้ญาติโยมเขียนดวง เขียนชื่อ อธิฐานจิตเพื่อบรรจุในฐานพระ หรือท่านใดจะนำพระ ถวายพระเนตร ถวายพลอยประดับอุณาโลม ตามแต่จิตศรัทธาครับ















5.เมื่อถึงเวลาหล่อพระ แรงงานชาวบ้านจากที่ต่าง ๆ ก็จะมารวมกันช่วยกันคนะไม้คนละมือ
ผู้ชาย ก็ขึ้นไปอยู่ตามนั่งร้าน ผู้หญิง ก็จะช่วยส่งถึงปูน และรับถังปูนเปล่ากลับ แผนก ตักหิน ตักทราย แบกปูน ก็ทำกันไปครับ ใครถนัดงานไหนก็รี่เข้าไปทำเลย ไม่มีใครว่า เหนื่อยก็พัก คนที่ว่างก็ผลัดเปลี่ยนกันมาทำแทน ไม่มีเกี่ยงไม่มีงอนกัน มาเอาบุญหน้าชื่นกันทุกคนครับ (ในภาพ อ.โหน่ง กะแว่นดำสัญลักษณ์ภาคสนาม)




6.พวกผมจะไปกัน 3-6 คน แล้วแต่รวบรวมอาสาสมัครได้มากน้อย แล้วแต่ว่าว่างมากว่างน้อย ถ้ามีเวลาก็อยู่แกะแบบ จนเสร็จ ไม่กลับก็นอนที่วัดเลย ถ้ารีบ ๆ เทแบบเสร็จก็กลับกันครับ กว่าปูนจะจับตัวได้ที่ ก็ราว ๆ 3 ชั่วโมงขึ้นไป เทแบบเสร็จก็สัก 6 โมงเย็น ชาวบ้านก็ทะยอยกันกลับ ก็จะเหลือไม่กี่คนที่รอแกะแบบครับ
(ปกติผมจะอยู่ยอดบนสุด แต่งานนี้ของานเบา ๆ ก่อน รอให้หายเดี๋ยวไปลุยใหม่)













7.ถายในองค์พระจะนำโอ่งใส่ พระที่ทางวัดเตรียมบรรจุ แผ่นดวง รายชื่อของญาติธรรม และองค์พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ที่มีผู้ถวาย
ที่มีโอ่งเพื่อให้องค์พระเบา แถมยังประหยัดปูนไปด้วย จะใส่โอ่งซ้อนกันขึ้นมา 3 ใบ ครับ






8.พิธีกรรมสำคัญคือ การบรรจุพระสารีริกธาตุ ที่ยอดบนสุด จากนั้นก็ปิดด้วยปูน ทำความสะอาดแบบแล้วก็รอปูนแห้งสัก 3 ชั่วโมง งานแกะแบบภาคกลางคืนจึงจะเริ่มต้น














โปรดติดตามชม - ภาคกลางคืน