sakkapoom.blogspot.com
.......................................................
ผ่านทาง... สร้างประสบการณ์ ให้ชีวิต
ผ่านชีวิต... สร้างจิตสำนึก ต่อสังคม
ผ่านสังคม... มอบสิ่งดีงาม เอาไว้ให้
ผ่านไป... ชีวิตวางทางไว้เบื้องหลัง จะมีสักกี่ครั้งที่จะได้หันกลับไปมอง.
ผ่านทาง... สร้างประสบการณ์ ให้ชีวิต
ผ่านชีวิต... สร้างจิตสำนึก ต่อสังคม
ผ่านสังคม... มอบสิ่งดีงาม เอาไว้ให้
ผ่านไป... ชีวิตวางทางไว้เบื้องหลัง จะมีสักกี่ครั้งที่จะได้หันกลับไปมอง.
30 กรกฎาคม, 2550
โยคะ ไทฉิ สติปัฏฐาน
โยคะ - เป็นตัวแทนของ การบริหารร่างกาย เนิบช้า พร้อมกำหนดลมหายใจ
ไทฉิ - เป็นตัวแทนของ การเคลื่อนไหวบริหารกาย ในแนววิชาต่อสู้ป้องกันตัว
ที่ลุ่มลึก รวมถึงวิชาการต่อสู้อื่น ๆ ที่เข้ากับหลักการนี้
สติปัฏฐาน - ข้อปฏิบัติที่มี สติ เป็นประธาน กำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็น
เท่าทันสภาวะของมัน ตามความเป็นจริง โดยไม่ถูกครอบงำด้วยอำนาจ
แห่งกิเลส มี ๔ อย่าง คือ
๑. กาย มีสติกำหนด ดูรู้เท่าทันกาย และเรื่องของกาย
(การกระทำทางกาย, อาการเคลื่อนกาย)
๒. เวทนา มีสติกำหนด ดูรู้เท่าทันเวทนา
(สุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์)
๓. จิต มีสติกำหนด ดูรู้เท่าทันจิต หรือสภาพ และอาการของจิต
(ธรรมที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ใจ)
๔. ธรรม มีสติกำหนด ดูรู้เท่าทันธรรม
(ความจริง, สิ่งที่ใจคิด, เหตุ, ต้นเหตุ)
“ โยคะ ไทฉิ สติปัฏฐาน ก็คือการทำความรู้สึกตัว กำหนดความรู้สึกตัว
อยู่บนฐานของการเคลื่อนไหว ที่เป็นจริง และต่อเนื่อง เพื่อรู้แจ้ง และกลมกลืน
เป็นการทำลายความไม่รู้ ด้วยความรู้ต่าง ๆ เป็นช่วงเพ่งจำเพาะที่อยู่เหนือ
ความรู้สึกนึกคิด อันเรียกเอา ศักยภาพ แห่งการดำรงชีวิตกลับคืนมา
พลังทั้งหมดของการมีชีวิตอยู่ ไม่ถูกทำลายไปเพราะความคิด วิตก
กังวล หื่นกระหาย ใคร่ในมายาแห่งชีวิต
...ดังนั้น ชีวิตจึงเปิดเผยถึง ธาตุแท้อันไม่ถูกจำกัด อยู่ในกรอบทัศนคติใด ๆ คงมีแต่เพียง
ศักยภาพ และการสร้างสรรค์ ศิลปะศาสตร์ อันบริสุทธิ์
...โยคะ ไทฉิ สติปัฏฐาน นั้นต่างก็เป็นกลวิธีพัฒนาความรู้สึกตัว
ทั่วถึง โดยอาศัย กาย การเคลื่อนไหวอันเนิบช้า และต่อเนื่อง เพื่อก่อเกิด
อำนาจสมาธิ ตามธรรมชาติ ให้เพียงพอที่จะปลุก “โพธิ” ให้ตื่น...
ความสัมพันธ์ของ กาย และ จิต นี้ หาใช่สัจจะไม่ แต่เป็นกลวิธีที่เร้า
ให้ธาตุแท้ของจิต ได้แสดงศักยภาพเดิมแท้
...อันพรั่งพร้อมด้วย ปรีชาญาณ ออกมา ”
โดย ท่านเขมานันทะ
(คัดลอก และดัดแปลงบางส่วน ขอได้รับความขอบคุณ...)
...บทความต่อไปนี้เป็นผลงานของ ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย) กล่าวถึงสภาวะหนึ่งของ กายานุปัสสนา ซึ่งแสดงออกโดย ยึดเอาการเคลื่อนไหว กาย อันหมายถึง การกำหนด รูป – นาม กำหนด กาย และ จิต เป็นอารมณ์ ซึ่งทำงานไปพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน เป็น จิตหนึ่ง ปลุกธาตุรู้ให้ตื่นขึ้น จากอวิชชา ยังสมาธิปัญญาให้เกิด
ผู้เขียนเห็นว่าดีและจะมีประโยชน์ต่อผู้ฝึกศิลปะการเคลื่อนไหว ซึ่งมีอยู่หลายแขนงวิชา อีกทั้งยังสอดคล้องกับหลักการทำสมาธิในการฝึกมวยไชยา จึงขอนำมาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี่
.....................................................................................